วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2567

บทความ

14 มี.ค. 2562

      กลองบานอ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่สะท้อนเรื่องราววิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่มีประวัติความเป็นมากว่าร้อยปี ในอดีตกลองบานออยู่คู่การดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม ท่ามกลางความเป็นอยู่ที่แสดงถึงความรักสามัคคีในชุมชน โดยใช้ตีส่งสัญญาณให้ชาวบ้านในชุมชน และละแวกใกล้เคียงได้รับรู้ถึงงานเทศกาลต่างๆ เช่นพิธีแต่งงาน พิธีเข้าสุหนัดและพิธีมงคลอื่นๆ การต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองสำคัญๆ แต่ไม่นิยมเล่นในงานศพ เสียงกลองบานอ จึงเป็นเสียงที่ปลุกชีวิตผู้คนให้ได้รู้สึกมีความสุข ได้รับ...

..อ่านต่อ
14 มี.ค. 2562

      ในปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา “กลุ่มวิสาหกิจโอรังปันตัย” บ้านตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี คือหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจประมงพื้นบ้านที่ก้าวเข้าสู่การสนับสนุนของโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” กลุ่มวิสาหกิจโอรังปันตัย จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนในเดือนเมษายน 2560 “โอรังปันตัย” มีความหมายถึง คนชายทะเล เป้าหมายของการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน คือ เป็นต้นแบบในการผลิตอาหารทะเลแปรรูปที่เป็นสินค้าจากประมงพื้นบ้าน...

..อ่านต่อ
14 มี.ค. 2562

      ศิลปะการแสดงพื้นบ้านในกลุ่มชาติพันธุ์มลายู ที่นิยมแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดจนในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นวัฒนธรรมร่วมทางด้านการแสดงพื้นบ้านในภาคพื้นคาบสมุทรมลายู มีหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ รองเง็ง ศิลปะการแสดงที่สื่อถึงการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากการเต้นรำพื้นเมืองของชาวสเปน โปรตุเกส ที่นำมาแสดงในแหลมมลายู เมื่อคราวได้เข้ามาติดต่อการค้า จากนั้นชาวมลายูได้นำมาดัดแปลง และเรียกการเต้นรำแบบนี้ว่า &ldquo...

..อ่านต่อ
14 มี.ค. 2562

เกลือหวาน หลายท่านคงมีความสงสัยว่าเกลือจะมีรสชาติหวานได้อย่างไร?       ​เกลือเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารเป็นอย่างมาก ทั้งใช้ปรุงเพื่อให้รสชาติ ใช้ถนอมอาหาร ป้องกันการเน่าเสีย ถ้าขาดความเค็มจากเกลือ รสชาติของอาหารที่รับประทานคงไม่มีทางอร่อยได้อย่างแน่นอน และเมื่อขึ้นชื่อว่า เกลือ ย่อมมีความเค็มอย่างแน่นอนอยู่แล้ว แต่เกลือหวานปัตตานีนั้นไม่ใช่เกลือที่มีรสหวานแต่เป็นเกลือที่มีความเค็มน้อย เป็นความเค็มที่ทำให้อาหาร และขนมมีรสชาติกลมกล่อม ความเค็มน้อยของเกลือปัตตานี นำไป...

..อ่านต่อ
14 มี.ค. 2562

      การแสดงโขนนับเป็นศิลปะการแสดงขั้นสูงประจำชาติ ที่หาชมได้ยาก เราจะเห็นการแสดงโขนในงานพิธีสำคัญๆ เท่านั้น เพราะประกอบด้วยกระบวนท่ารำอันอ่อนช้อย และเครื่องแต่งกายที่วิจิตรงดงาม ผสมผสานกับฉากที่ยิ่งใหญ่ การแสดงจะเล่าเรื่องราวต่างๆ โดยการกล่าวเป็นทำนองซึ่งมีทั้งบทพากย์ บทเจรจา และบทร้อง นับวันจะมีคนที่มีความสามารถในการแสดงโขนลดน้อยลงทุกที จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้มีการรื้อฟื้นการแสดงโขนขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการจัดแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศ...

..อ่านต่อ
14 มี.ค. 2562

      ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเพณี และ ศาสนา สิ่งหนึ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์เหล่านี้ได้ชัดเจนที่สุดได้แก่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ด้วยเวลาที่หมุนผ่าน รูปแบบการแต่งกายก็เปลี่ยนแปลงไป ความเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งการสูญหายไปของงานหัตถกรรมผืนผ้าอันทรงคุณค่า ผ้าปาละงิง ผ้าทอมือโบราณชายแดนใต้       ผ้าปาละงิง มีความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี พบในอินเดีย (ปันตานี) มาเลเซีย อินโดนีเซีย (เปลางี) และไทย ได้รับการบันทึกไว้ในปร...

..อ่านต่อ
3 ต.ค. 2561

      ป่าชายเลนอำเภอยะหริ่ง อยู่ทางทิศใต้จากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 15 ก.ม. เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอันมหัศจรรย์แห่งหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ชุ่มน้ำกว้างขวางเกือบ 8,000 ไร่ ประกอบด้วยพืชนานาพรรณที่เขียวชอุ่มทั้งปี ทำหน้าที่เสมือนป้อมปราการปกป้องชายฝั่ง อีกทั้งเป็นบ้านหรือแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมไปถึงสัตว์ปีกตามธรรมชาติ เพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิดหล่อเลี้ยงผู้คนรอบๆ ชายฝั่งมาหลายชั่วอายุคน       พื้นที่ป่าชายเลนของอำเภอยะหริ่งเป็นพื้นที่ป่...

..อ่านต่อ
3 ต.ค. 2561

      "ว่าว" งานหัตถกรรมที่อยู่คู่กับมนุษย์แทบทุกพื้นถิ่นทั่วโลก เป็นความรู้พื้นฐานด้านอากาศพลศาสตร์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาแต่ครั้งโบราณ ตัวว่าวแต่ละชนิดของแต่ละกลุ่มชนจึงสามารถเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นมาของประวัติศาสตร์แต่ละชุมชนผ่านการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ก่อนจะเป็นว่าวที่โบยบินเล่นลมบนท้องฟ้านั้น ทั้งลวดลาย และโครงสร้างของว่าวต่างได้รวบรวมศิลปะ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน และวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องเอาไว้       ณ ชุมชนปลายด้ามข...

..อ่านต่อ
3 ต.ค. 2561

      สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดินแดนที่มีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามหรือชาวมุสลิมอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย สัมผัสได้ถึงแรงศรัทธาในศาสนาอิสลามที่ยังคงเข้มแข็งเหนียวแน่น มีวิถีชีวิตอันเป็นอัตลักษณ์ของชาวมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ การแต่งกายของชาวมุสลิมไม่ว่าหญิงหรือชายถือเป็นหนึ่งในบทบัญญัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ยึดปฏิบัติมาพร้อมกับการถือกำเนิดของศาสนาอิสลามหรือกว่า 1400 ปีมาแล้ว เสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมทางศาสนา       มุสลิมะ ห...

..อ่านต่อ
3 ต.ค. 2561

      รอมฎอนเดือนแห่งการถือศีลอด ถือเป็นเดือนอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม ที่แสดงให้เห็นถึงความเคร่งครัด และความอดทนในการถือศีลอด เพื่อชำระล้างร่างกาย และจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ของชาวมุสลิมแล้ว และสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวมุสลิมที่สืบทอดกันมา และมีอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ ที่ชาวมุสลิมจะรับประทานกันในช่วงเดือนรอมฎอน หลังจากที่ชาวมุสลิมถือศีลอดกันมาตลอดทั้งวัน ทุกคนก็จะรอให้ถึงช่วงเวลาแก้บวชหรือแก้ศีลอด คือ เวลาพลบค่ำได้คืบคลานเข้ามา และเวลากลางวันได้ผ่านพ้นไป และดวงอาท...

..อ่านต่อ
หน้า 16 จาก 21 หน้า แสดง 10 จากทั้งหมด 201 รายการ