วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ.2567

ด่านชายแดน และสะพานมิตรภาพ Gateway แสนล้าน ไทย-มาเลเซีย

 23 มี.ค. 2565 10:47 น.    เข้าชม 8542

          ประเทศไทยมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สาธารณรรัฐแห่งสหภาพพม่าทางด้านทิศตะวันตก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา ทางด้านทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ คือ สหพันธรัฐมาเลเซีย โดยประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านของเรา มีการติดต่อทำการค้า ที่เราเรียกว่า “การค้าชายแดน” กันมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง และมีมูลค่ามหาศาลนับเป็นล้านล้านบาทต่อปี ยกตัวอย่างเช่นในปี 2564 มีมูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านรวมแล้วกว่า 924,081 ล้านบาท โดยการค้าชายแดนที่มีมูลค่าสูงสุด ก็คือ การค้าชายแดนกับประเทศมาเลเซีย เพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.36 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวมทั้งประเทศ หรือประมาณ 335,996 ล้านบาท

ไทยกับมาเลเซียค้าขายอะไรกันบ้าง

          มูลค่านับแสนล้านที่เกิดขึ้นจากการค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย เป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นจากทั้งมูลค่าการส่งออก และมูลค่าจากการนำเข้า

          สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์, ยางพารา, รถยนต์ และอุปกรณ์, เครื่องวิดีโอ และแผงวงจรไฟฟ้า

          ในส่วนของสินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กสำหรับคอมพิวเตอร์, ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์, เครื่องจักรไฟฟ้า, เม็ดพลาสติก และ อุปกรณ์ไดโอด

          โดยการค้าชายแดนที่กล่าวถึงไปข้างต้น จะดำเนินการผ่านด่านชายแดนระหว่างประเทศไทย และมาเลเซีย ที่มีอยู่ด้วยกัน 9 แห่ง

9 ด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย

          ปัจจุบันด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย จำนวน 9 แห่ง ตั้งกระจายอยู่ในจังหวัดชายแดน 4 จังหวัด ได้แก่

          1. จังหวัดสงขลา มีจำนวน 3 ด่าน ได้แก่ 1) ด่านสะเดา อ.สะเดา และด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดาห์ มาเลเซีย, 2) ด่านปาดังเบซาร์ อ.สะเดา และด่านปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส มาเลเซีย และ 3) ด่านบ้านประกอบ อ.นาทวี และด้านบ้านดูเรียนบูรง อ.ปาดังเตอรับ รัฐเกดะห์ มาเลเซีย

          2. จังหวัดนราธิวาส มีจำนวน 3 ด่าน ได้แก่ 1) ด่านสุไหงโก-ลก อ.สุไหงโกลก และด่านรันตูปันยัง รัฐกลันตัน, 2) ด่านตากใบ (ท่าเรือ) อ.ตากใบ และ ด่านเป็งกาลันกูโบ รัฐกลันตัน และ 3) ด่านบูเก๊ะตา อ.แว้ง และด่านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน

          3. จังหวัดยะลา มีจำนวน 1 ด่าน ได้แก่ ด่านเบตง อ.เบตง และ ด่านบูกิตบือราปิต รัฐเคดาห์

          4. จังหวัดสตูล มีจำนวน 2 ด่าน ได้แก่ 1) ด่านวังประจัน อ.ควนโดน และ ด่านวังเกลียน รัฐเปอร์ลิส และ 2) ด่านสตูล (ท่าเรือ) อ.เมืองสตูล และท่าเรือกัวลาเปอร์ลิส รัฐเปอร์ลิส, ท่าเรือเจตตีกัว ลังกาวี รัฐเคดาห์ และ ท่าเรือเพลก อีกวา ลังกาวี รัฐเคดาห์

          มูลค่าทางการค้าชายแดนหลักแสนล้านบาท ทั้งในรูปของการนำเข้าและส่งออก เกิดขึ้นที่ด่านชายแดนเหล่านี้ โดยด่านการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด 4 อันดับแรก ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา, ด่านปาดังเบซาร์, ด่านสุไหงโกลก และด่านเบตง ตามลำดับ

สองสะพานเปิดแล้ว กำลังจะเปิดอีกสอง

          นอกเหนือจาก 9 ด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ทำหน้าที่เป็นประตูส่งผ่านการค้าชายแดนที่มีมูลค่านับแสนล้านแล้ว ยังมีกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่ง นั่นก็คือ “สะพานมิตรภาพ ไทย-มาเลเซีย ที่ทำหน้าที่เชื่อมแผ่นดินของทั้งสองประเทศในส่วนที่มีแม่น้ำขวางกั้น โดย ณ ปัจจุบัน มีการเปิดใช้สะพานฯ แล้วจำนวน 2 สะพาน  ได้แก่ 1) สะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างเมืองรันตูปันยัง กับ อ.สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และ สะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างเมืองบูกิตบุหงา กับ อ.แว้ง จังหวัดนราธิวาส

          ล่าสุดระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2565 ดาโต๊ะ สรี อิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีการหารือกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในประเด็นความร่วมมือ 4 ประเด็น เพื่อเชื่อมโยงทั้งในด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ

          สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คือ เรื่องมาตรการเปิดพรมแดนมาเลเซีย-ไทย และการสร้างสะพานเชื่อมสองประเทศ 2 จุด ที่สุไหงโกลก-รันเตาปันจัง รัฐกลันตัน และที่ ตากใบ-เปิงกาลัน กุโบร์ รัฐกลันตัน โดยผู้นำทั้งสองตกลงเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย และมาเลเซีย รีบดำเนินก่อสร้างสะพานทั้งสองแห่งโดยเร็ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนทั้งสองประเทศสามารถเดินทางไปมาหาสู่ และขนส่งสินค้า ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

          มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทย และมาเลเซีย ทั้งในส่วนนำเข้า และส่งออก ซึ่งถูกเคลื่อนย้ายผ่านด่านชายแดนทั้ง 9 ด่าน และสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซีย จำนวน 2 แห่ง มีมูลค่าหลายแสนล้านบาทต่อปีมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่ามากขึ้น สืบเนื่องมาจากนโยบายล่าสุดในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดให้สร้างสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซีย แห่งที่ 3 และ 4

          การเพิ่มระดับการเชื่อมโยง ไม่มากก็น้อยนี้ จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตามแนวชายแดนดีขึ้นตามการขยายตัวของการค้าชายแดน และย่อมส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแน่นอน

เฝ้าตรวจแนวชายแดนสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย

          สิ่งสำคัญยิ่งที่ต้องเกิดขึ้น และเกื้อกูลต่อการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวชายแดน ก็คือ ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนที่เกี่ยวข้อง

          ความเชื่อมั่นเหล่านี้ จะเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นทุ่มเทในการเฝ้าตรวจแนวชายแดนภายใต้การบูรณาการการปฏิบัติอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นชุดเฝ้าตรวจชายแดนซึ่งมีทั้งหมด 30 ชุดเฝ้าตรวจที่ปฏิบัติงานร่วมระหว่างไทย และมาเลเซีย, ตำรวจตระเวนชายแดน และ ทหารพราน

          หน่วยงานเหล่านี้ มีจะทำหน้าที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลาดตระเวนเฝ้าตรวจ และป้องกันชายแดนที่ต้องดำเนินการทั้งกลางวัน และกลางคืน, การจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน และการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน ตลอดจนประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ยังคงเฝ้าระวังป้องกัน สกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามช่องทางธรรมชาติ การลักลอบนำเข้าสินค้าทางการเกษตร สินค้าหนีภาษี และยาเสพติด, การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 และให้การช่วยเหลือประชาชนในทุกโอกาส

          หลังจากที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ดำเนินการผ่านด่านชายแดน และสะพานมิตรภาพ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็กลับมาคึกคักในอีกครั้งหนึ่ง จากมาตรการความร่วมมือในการเปิดด่านฯ ระหว่างไทย-มาเลเซีย

          กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาคึกคักนี้ ย่อมก่อนให้เกิดผลดีทั้งในระดับพื้นที่ และในระดับผู้ค้ารายย่อย ทั้งฝั่งไทย และมาเลเซีย ที่ทำมาหากินอยู่บนเส้นทางขนส่งสินค้าที่ต้องผ่านด่านชายแดนนี้

          และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าตรวจตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย และมาเลเซีย

เฝ้าตรวจแนวชายแดนสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย

          สิ่งสำคัญยิ่งที่ต้องเกิดขึ้น และเกื้อกูลต่อการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวชายแดน ก็คือ ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนที่เกี่ยวข้อง

          ความเชื่อมั่นเหล่านี้ จะเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นทุ่มเทในการเฝ้าตรวจแนวชายแดนภายใต้การบูรณาการการปฏิบัติอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นชุดเฝ้าตรวจชายแดนซึ่งมีทั้งหมด 30 ชุดเฝ้าตรวจที่ปฏิบัติงานร่วมระหว่างไทย และมาเลเซีย, ตำรวจตระเวนชายแดน และ ทหารพราน

          หน่วยงานเหล่านี้ มีจะทำหน้าที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลาดตระเวนเฝ้าตรวจ และป้องกันชายแดนที่ต้องดำเนินการทั้งกลางวัน และกลางคืน, การจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน และการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน ตลอดจนประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ยังคงเฝ้าระวังป้องกัน สกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามช่องทางธรรมชาติ การลักลอบนำเข้าสินค้าทางการเกษตร สินค้าหนีภาษี และยาเสพติด, การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 และให้การช่วยเหลือประชาชนในทุกโอกาส

          หลังจากที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ดำเนินการผ่านด่านชายแดน และสะพานมิตรภาพ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็กลับมาคึกคักในอีกครั้งหนึ่ง จากมาตรการความร่วมมือในการเปิดด่านฯ ระหว่างไทย-มาเลเซีย

          และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าตรวจตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย และมาเลเซีย

ความคิดเห็น